Puma Punku เป็นซากโบราณสถานในประเทศโบลิเวีย ชื่อนี้ออกจะไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนในวงการอื่นนอกเสียจากนักโบราณคดี หรือนักจานผีวิทยา(UFOlogist)เท่านั้น คิดกันบ้างไหมว่าทำไมซากโบราณสถานดังกล่าวถึงได้ดึงดูดใจคนสองกลุ่ม ที่ดูเหมือนอยู่กันคนละขั้วนี้ให้มาสนใจสิ่งเดียวกันได้
โบราณสถานที่ว่าอยู่เยื้องออกไปทางซ้ายของพูมาปันกูปิระมิดในเขตเมืองโบราณเทียฮัวนาโค ใกล้กับทะเลสาปติติคาคา บริเวณนั้นเชื่อกันว่าคือแหล่งอารยธรรมของชนพื้นเมืองก่อนหน้าชาวอินคา นักโบราณคดีให้ข้อสรุปว่าพูมา ปันกูเป็นวิหารหรืออะไรทำนองนั้นที่สะท้อนถึงการบูชาเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ของอินคานามเทพวิราโคชา น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานใดๆสนับสนุนแนวคิดนี้แม้เพียงกระผีกริ้น
โบราณสถานที่ว่าอยู่เยื้องออกไปทางซ้ายของพูมาปันกูปิระมิดในเขตเมืองโบราณเทียฮัวนาโค ใกล้กับทะเลสาปติติคาคา บริเวณนั้นเชื่อกันว่าคือแหล่งอารยธรรมของชนพื้นเมืองก่อนหน้าชาวอินคา นักโบราณคดีให้ข้อสรุปว่าพูมา ปันกูเป็นวิหารหรืออะไรทำนองนั้นที่สะท้อนถึงการบูชาเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ของอินคานามเทพวิราโคชา น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานใดๆสนับสนุนแนวคิดนี้แม้เพียงกระผีกริ้น
ชนพื้นเมืองโบราณจะสร้างที่แห่งนี้ให้กับใครก็พูดยากเพราะไม่มีหลักฐานเหลือให้เห็น ส่วนหลักฐานที่พอจะมีให้เห็นก็ทำให้เกิดคำถามตามมาเหมือนกันว่าคนโบราณสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้อย่างไร?


เทียบง่ายๆครับ หินที่ใช้สร้างโบราณสถานมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 200 ตัน บางก้อนหนักถึง 450 ตัน ชาวอินคา(หรือใครก็ตามที่สร้างมัน)เอาหินขึ้นมาบนที่สูงกว่า 13,000 ฟุตกันได้ยังไง สโตนเฮนจ์ยังพออธิบายวิธีการขนหินได้ว่าใช้ไม้เป็นหมอนรอง + ต่อแพล่องมาตามทะเลสาปที่ยาวเหยียด ส่วนภูเขาสูงที่เป็นทำเลของเทียฮัวนาโคนี่ล่ะครับ จะเอาหินขึ้นมายังไง
คำถามที่สำคัญที่สุดเห็นจะอยู่ที่ อารยธรรมอินคาไม่เคยมีการประดิษฐ์ล้อเลื่อน เพราะงั้นเครื่องทุ่นแรงประเภทไหนที่พวกเขาใช้ขนของหนักๆกัน เป็นไปได้อย่างไรว่าชนชาติที่สร้างสิ่งก่อสร้างสุดอลังการจนนับเป็นสุดยอดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้นี้ ไม่เคยคิดอุปกรณ์ง่ายๆที่คนโบราณชาติไหนเค้าก็คิดกันได้อย่างล้อและเพลา
ถ้าจะบอกว่าล้อเลื่อนสะดวกสำหรับพื้นราบ ทานโทษเถอะครับ การขนหินหนักหลายร้อยตันขึ้นภูเขาเนี่ย พวกเขาเอาอะไรขนกันไม่ทราบ สร้างกันในป่าที่เป็นที่ราบง่ายกว่าไหม อเมริกาใต้มีที่แบบนี้ออกจะเยอะแยะ
โอเคครับ จะมียักษ์มาช่วยแบกก็ไม่ว่ากัน แต่พอเอาขึ้นมาบนที่ราบยอดเขาได้ พวกเขาเอาอะไรตัดหินกันแน่ และตัดทำนองไหนถึงได้มีเหลี่ยมมุมที่แม่นยำชนิดลงล็อกกันพอดีอย่างกับเกม Tetris ทั้งมุม ฉาก และพื้นตัด ก้อนละหลายร้อยตันนะครับ ไม่ใช่ก้อนเล็กๆอย่างอิฐบล็อค
เทียบง่ายๆครับ หินที่ใช้สร้างโบราณสถานมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 200 ตัน บางก้อนหนักถึง 450 ตัน ชาวอินคา(หรือใครก็ตามที่สร้างมัน)เอาหินขึ้นมาบนที่สูงกว่า 13,000 ฟุตกันได้ยังไง สโตนเฮนจ์ยังพออธิบายวิธีการขนหินได้ว่าใช้ไม้เป็นหมอนรอง + ต่อแพล่องมาตามทะเลสาปที่ยาวเหยียด ส่วนภูเขาสูงที่เป็นทำเลของเทียฮัวนาโคนี่ล่ะครับ จะเอาหินขึ้นมายังไง
คำถามที่สำคัญที่สุดเห็นจะอยู่ที่ อารยธรรมอินคาไม่เคยมีการประดิษฐ์ล้อเลื่อน เพราะงั้นเครื่องทุ่นแรงประเภทไหนที่พวกเขาใช้ขนของหนักๆกัน เป็นไปได้อย่างไรว่าชนชาติที่สร้างสิ่งก่อสร้างสุดอลังการจนนับเป็นสุดยอดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้นี้ ไม่เคยคิดอุปกรณ์ง่ายๆที่คนโบราณชาติไหนเค้าก็คิดกันได้อย่างล้อและเพลา
ถ้าจะบอกว่าล้อเลื่อนสะดวกสำหรับพื้นราบ ทานโทษเถอะครับ การขนหินหนักหลายร้อยตันขึ้นภูเขาเนี่ย พวกเขาเอาอะไรขนกันไม่ทราบ สร้างกันในป่าที่เป็นที่ราบง่ายกว่าไหม อเมริกาใต้มีที่แบบนี้ออกจะเยอะแยะ
โอเคครับ จะมียักษ์มาช่วยแบกก็ไม่ว่ากัน แต่พอเอาขึ้นมาบนที่ราบยอดเขาได้ พวกเขาเอาอะไรตัดหินกันแน่ และตัดทำนองไหนถึงได้มีเหลี่ยมมุมที่แม่นยำชนิดลงล็อกกันพอดีอย่างกับเกม Tetris ทั้งมุม ฉาก และพื้นตัด ก้อนละหลายร้อยตันนะครับ ไม่ใช่ก้อนเล็กๆอย่างอิฐบล็อค
นอกจากการตัดและขัดผิวหินแกรนิตที่ประณีตแล้ว รอยตัดก็ชวนฉงนว่าอินคาโบราณเค้าเอาอะไรตัด ลองดูรูปเล็กๆด้านล่างนี้ครับ แสดงให้เห็นรอยกรีดลงไปในหินที่กินระยะไม่เกิน 1 cm นั่นคือรอยขวานหินอย่างที่คนโบราณใช้ หรือตัดด้วยเครื่องมือประเภทไหนกัน ใครเรียนวิศวกรรมศาสตร์มาพอจะอธิบายการใช้เครื่องมืออย่างง่ายให้ได้ผลแบบในรูปให้ผมฟังหน่อยสิครับ ไม่ได้ดูถูกสติปัญญาคนโบราณ แต่อยากรู้จริงๆ...
นักจานผีวิทยาเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยการนำของพระเจ้าจากอวกาศ ซึ่งด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบพวกเขาสร้างมันไม่เสร็จและทิ้งเอาไว้ให้ประจักษ์แบบนี้ อีกคำอธิบายหนึ่งกล่าวว่า โบราณสถานแห่งนี้อาจเป็นต้นแบบการก่อสร้าง ที่พระเจ้าจากอวกาศทรงประทานเพื่อสอนวิธีปลูกสร้างโบราณสถานแก่อารยธรรมก่อนอินคาก็เป็นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น